Luang Pho
Derm、Buddhasaro、Nong Pho
寺,那空沙旺省著名的僧侶之一被視為尊重全國佛教徒信仰的“四桂城神”你的聖物有許多不同的版本。所有這些似乎都以其神奇的強度而聞名,尤其是“1939
年第一個泵年(Pimniyom)的帕護身符”,由 Luang Por Noi
帶領的一群學生要求建造並讓 Luang Por
開光。它是自過去以來最受歡迎的聖物之一。它目前非常珍貴且極為罕見。
創造者
Luang Por Derm 出生於 1860 年,其父母名為 Niam-Nang
Phu Phumanee 先生,年輕時曾就讀於 Wat Nong Pho。直到 1880
年出家,他在 Nakhon Sawan 省 Phayuha Khiri 區的 Wat
Khao Kaew 出家,由 Luang Pho Kaew、Wat Intharam (Wat
Nai) 出家、Luang Pho Ngein、Phra Prang Luang
寺是一位業力僧人,而 Luang Pho Tes,Wat Sa Talay,是一座紀念碑獲得了“Buddhasaro”的綽號,並返回住在Wat
Nong Pho的佛教四旬期。研習戒律並背誦戒律。此外,他還與許多上師一起學習
Wittayakom,包括僧侶和在家人,直到他們分手。他是一位開悟並具有高尚慈悲的僧人。也是一位修士,在寺院內發展出永久物件。包括省內各種寺廟的建設和修復,如菩提傘、賽傘等靠不選擇種姓的佛教徒它受到遠近佛教徒的尊重。誰帶彼此作為門徒來敬拜請澆聖水並索要許多聖物1951年病逝,享年92歲和71歲。
海量內容
護身符像第一個泵,1939年,由羊駝毛製成,不超過500和黃銅,不超過3,000
佛教特色
這是一個類似於 Luang Por Tem
的泵的人物,在砧板底座上冥想。自然的外觀額頭線深深皺起。中間有凹痕,面部細節銳利,僧伽中間清晰的“下巴形下巴”。它的特點是印花中的深脊、摺痕和天然長袍花瓣。沒有使用裝飾文件。底座正面刻有泰文文字,
“Luang Por Derm”,在字母“Wor”的末尾會有一個小葉,底座下方是Luang
Pho On的弟子,如Luang Pho On,Khok Duea
Temple,Luang Pho Aoi, Nong Bua Temple, and
Luang Pho Noi, Nong Pho Temple. 經常發現的大的是Luang
Por Noi的手跡。哪個更受歡迎,因為它美觀且易於記憶。
模具標識
這個護身符看起來像原來的 Luang Pho
泵。只有一套模具。長時間抽水時黴菌開始變質變淺,導致多餘的肉出現斑點。模糊的文字將其分為4種類型,即Pimniyom
A、Pimniyom B、Pimniyom C和Pimniyom D。
基本注意事項
因為它是一個像泵一樣的護身符細線因此,淨度清晰,不模糊,金屬表面會光滑、緊實、緊密,沒有氣孔,就像鑄造的護身符。此外,'護身符的價值就像一個泵,Luang
Por Derm, Nong Pho Temple' 依次為 4
個印刷品,並且沒有任何類型印刷品的前後身份切換。如果有初步的考慮是不真實的
รายละเอียด:
หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ พระเกจิผู้มีชื่อเสียงโด่งดังรูปหนึ่งของ จ.นครสวรรค์ ได้รับการยกย่องให้เป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว” ที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ วัตถุมงคลของท่านมีมากมายหลายรุ่น ซึ่งล้วนปรากฏความเข้มขลังเป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะ “พระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก ปี 2482 (พิมพ์นิยม)” ซึ่งคณะลูกศิษย์ นำโดย หลวงพ่อน้อย ขออนุญาตจัดสร้างและให้หลวงพ่อปลุกเสก นับเป็นหนึ่งในสุดยอดวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสะสมและแสวงหากันมาตั้งแต่อดีต ปัจจุบันมีค่านิยมสูงมากและหายากยิ่ง
ผู้สร้าง
หลวงพ่อเดิม เกิดเมื่อปี พ.ศ.2403 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเนียม-นางภู่ ภู่มณี ตอนเด็กศึกษาที่วัดหนองโพธิ์ จนอายุครบบวชในปี พ.ศ.2423 จึงอุปสมบท ณ วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ โดย หลวงพ่อแก้ว วัดอินทาราม (วัดใน) เป็นพระอุปัชฌาย์, หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “พุทธสโร” แล้วกลับมาจำพรรษาที่วัดหนองโพ ศึกษาพระธรรมวินัยและท่องพระคัมภีร์วินัย นอกจากนี้ยังได้ศึกษาวิทยาคมกับอาจารย์อีกหลายท่านทั้งพระเกจิและฆราวาสจนแตกฉาน เป็นพระเกจิผู้เรืองวิทยาอาคมและมีเมตตาธรรมสูงส่งรูปหนึ่ง ทั้งยังเป็นพระนักพัฒนาสร้างถาวรวัตถุภายในวัด รวมทั้งก่อสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ ในจังหวัด เปรียบเสมือนร่มโพธิ์และร่มไทรที่พึ่งพาอาศัยของพุทธศาสนิกชนไม่เลือกชั้นวรรณะ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกล ที่พากันเข้าไปกราบนมัสการฝากตัวเป็นศิษย์ ขอให้รดนํ้ามนต์ และขอวัตถุมงคลไว้ติดตัวมากมาย ท่านมรณภาพในปี พ.ศ.2494 สิริอายุ 92 ปี 71 พรรษา
เนื้อหามวลสาร
พระรูปเหมือนปั๊มรุ่นแรก ปี 2482 สร้างเป็น เนื้ออัลปาก้า ไม่เกิน 500 องค์ และ เนื้อทองเหลือง ไม่เกิน 3,000 องค์
พุทธลักษณะ
เป็นรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเต็มองค์นั่งสมาธิเหนืออาสนะฐานเขียง ลักษณะเป็นธรรมชาติ เส้นหน้าผากเป็นร่องลึก มีรอยบุบตรงกลาง, รายละเอียดบนใบหน้าคม ชัดเจน “คางแบบคางคน” ช่วงกลางของสังฆาฏิ มีลักษณะเป็นร่องลึกพาดขวาง, รอยย่นและกลีบจีวรเป็นธรรมชาติในพิมพ์ ไม่มีการใช้ตะไบตกแต่ง ด้านหน้าฐานจารึกอักษรไทยว่า “หลวงพ่อเดิม” ซึ่งตรงปลายตัว “ว” จะมีติ่งเล็กๆและใต้ฐานลงเหล็กจารอักขระโดยลูกศิษย์ของหลวงพ่อ อาทิ หลวงพ่อโอน วัดโคกเดื่อ, หลวงพ่ออ๋อย วัดหนองบัว และ หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ แต่ส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นลายมือจารของหลวงพ่อน้อย ซึ่งได้รับความนิยมมากกว่าเพราะสวยงามและจดจำง่าย
เอกลักษณ์แม่พิมพ์
พระรูปเหมือนปั๊มหลวงพ่อเดิมรุ่นนี้ มีแม่พิมพ์เพียงชุดเดียว เมื่อปั๊มไปนานๆ แม่พิมพ์จึงเริ่มชำรุด ตื้นเขินขึ้น เกิดเนื้อเกินเป็นปื้นๆ ตัวหนังสือเบลอ ทำให้แยกพิมพ์ออกเป็น 4 พิมพ์ คือ พิมพ์นิยม เอ, พิมพ์นิยม บี, พิมพ์นิยม ซี และ พิมพ์นิยม ดี
หลักการพิจารณาเบื้องต้น
เนื่องจากเป็นพระรูปเหมือนปั๊มกระแทก เส้นสายรายละเอียดต่างๆ จึงมีความคมชัดเจน ไม่เบลอ และผิวโลหะจะมีความเรียบ แน่น ตึง ไม่มีรูพรุนอากาศแบบพระหล่อ นอกจากนี้ ค่านิยมของ ‘พระรูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ’ จะเป็นไปตามลำดับใน 4 พิมพ์ และไม่มีการสลับเอกลักษณ์แม่พิมพ์หน้า-หลังของพิมพ์ใดพิมพ์หนึ่งเป็นอันขาด ถ้ามีพิจารณาเบื้องต้นได้เลยว่าไม่แท้